2011/01/19

ตานข้าวใหม่

วันนี้เป็นวันพระ ตรงกับวันที่ 19 มกราคม 2554 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 

แม่บอกว่าวันนี้ต้องไปตานข้าวใหม่ ไปทำบุญแต่เช้า

ดังนั้นวันนี้รินก็ต้องตื่นแต่เช้าเลย เพื่อไปทำบุญกับแม่ 

ไปคราวนี้ไปกันแค่ 2 คน เพราะพ่อ นิคกะอลิซ่า ไม่ได้ไปด้วย

ตอนเช้าเนี้ยหนาวมากๆ เลยอ่ะ 









เนื่องจากไปกันแค่สองคน เลยไม่ได้ถ่ายรูปตอนใส่ข้าวล้นบาตร 

เป็นครั้งแรกนะเนี้ยที่รินไปตานข้าวใหม่

แล้วตอนเย็นอลิซ่าก็ทำพิซซ่าเจ (แต่เข้าเตาอบตอน 3 ทุ่ม) น่ากินมากๆ เลย

โดยถาดหนึ่งเป็นเจ ส่วนอีกถาดเพิ่มกระเทียมกะเนยแข็งเข้าไป (ส่วนผสมเหมือนกันทุกอย่าง)

รินไม่ได้ช่วยทำหรอก เหอเหอ ก็ไปเรียนนิ

และแล้วพวกเราก็จัดการถาดที่สองจนเกลี้ยง 555+ 

รสชาติไม่เหมือนพิซซ่า แต่ก็อร่อยดี หุหุ


ถาดนี้มีกระเทียมกะเนยแข็ง น่ากินไหม.....และเราก็จัดการจนเกลี้ยง



ถาดนี้เป็นเจ เก็บไว้ให้แม่กินตอนเช้า เพราะมันดึกแล้ว



มาทำความรู้จักประเพณีตานข้าวใหม่กันดีกว่าค่ะ


วันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ หรือเรียกว่าเดือน 4 เป็งเป็นประเพณีทานข้าวใหม่ และตานข้าวจี่ ข้าวหลาม ชาวลานนาไทยได้ถือเป็นประเพณีทาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ตอนที่จะมีข้าวใหม่มาทนนั้น จะขอเล่าความเป็นมาถึงการมีข้าวใหม่มาทานเสียก่อน คือ เราจะต้องทำไร่ทำนาข้าวก่อนจึงจะมีข้าวใหม่ทานได้ การทำนาได้ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ลือพ่ออุ้ยพ่อหม่อน ปู่ลุง อาวอา สืบสานกันมาถึงลูกถึกหลาน เหลน ล้วนแต่มีการทำไร่ทำนากันทุกบ้านเรือน จะมีมากมีน้อยก็ตามฐานะของตน ผู้ไม่มีนาก็ได้เป็นเช่านาเขาทำบ้าง ไปรับจ้างเขาทำก็มีมาก เพื่อได้มาให้เพียงพอแก่ครอบครัว ถือเป็นอาชีพของคนลานนา ส่วนอาชีพอื่นเป็นอาชีพเสริม 

การทำนาสมัยก่อนต้องใช้แรงวัวแรงควาย ชักลากเฝือไถต้องเตรียมเครืองใช้ มีไถเฝือ แอกควาย แอกน้อย เชือกต่อสำหรับผูกแอก ผูกไถ เมื่อเดือน 8-9-10 มาเถิง ฝนเริ่มตกลงมา ชาวนาก็จะตกกล้า หรือหว่านกล้า เริ่มเอาน้ำเข้าตกกล้าก่อน แล้วนะเอาข้าวเชื้อ (พันธุ์ข้าว) ประมาณกี่ต๋าง (กี่เปี่ยด) แล้วแต่นามีมากน้อยเท่าไรแล้วนำข้าวลงแช่น้ำ 3 คืน แล้วเอาออกอุก (อม) เจ้าของจะไถนาทำแปลงหว่านกล้าเมื่อแช่ 3 คืน แล้วเอาออกใส่ถุงใส่ทอทับด้วยใบตอง แล้วอบไว้ 2 คืน เรียกข้าวน้ำ 3 บก 2 ก็จะแตกงอกจึงนำไปหว่านในแปลงนาที่จัดไว้ หว่านกล้าแล้ว เจ้าของนาก็จะไถนารอกล้า ถ้าน้ำอำนวยให้ จะหมักไว้จนขี้ไถยุบตัวลงหญ้าต่าง ๆ จะเน่ากลายเป็นปุ๋ยไปในตัว แล้วก็เริ่มเผือกกลับไปกลับมาให้เรียบ ก็ลงมือปลูกข้าวต่อจากนั้นก็ค่อยดูแลหญ้าและศัตรูพืชในขณะปลูกข้าวจะเอามือ เอาวันกัน ช่วยเหลือกันและกันไม่ต้องจ้าง มีแต่หาข้าวปลาอาหารไปเลี้ยงกันสามารถปลูกได้อย่างรวดเร็ว ไม่นิยมจ้างกันเช่นทุกวันนี้ เมื่อย่างเข้าเดือนกันยายน-ตุลาคม ข้าวจะตั้งก่องอกงามเรียกว่า สร้างต้นสร้างก๋อ พฤศจิกายน ข้าวก็ตั้งท้องออกรวง ธันวาคม ข้าวก็จะเหลืองอร่ามเต็มทุ่งนา ปลายเดือนก็เริ่มเก็บเกี่ยว แล้วมัดบ้างเป็นฟ่อนบ้าง แล้วรวมกันนวดฟากกับรางเรียกว่า (ฮางตี๋ข้าว) กว้างขนาด 1 เมตร ยาวประมาณ 4 เมตร ช่วยกันตีสนุกสนาน ส่วนมากมักตีกันตอนเย็นและเข้าคืน เพราะอากาศมันเย็นทำงานได้มาก แสงสว่างก็อยู่ใต้แสงเดือน และใช้เฟื่องจุดไฟแจ้งสว่างพอดีข้าวได้เสร็จแล้วก็ขนข้าวไปเก็บในยุ้งฉ่าง (หล่องข้าวหรือถุข้าว)
เมื่อเก็บเรียบร้อยแล้วก็ทำขวัญข้าว มื้อจันวันดีไล่ตามปักตืน วันผีกินวันคนกินทั้งข้างขึ้น และข้างแรม เมื่อได้วันดีแล้วก็เริ่มกินข้าวใหม่ ส่วนหนึ่งนำไปทำบุญแด่พระสงฆ์ สามเณร อุทิศส่วนกุศลให้บิดามารดาและพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วนั้น 

เมื่อถึงเดือน 4 เป็ง ประเพณีตานข้าวใหม่ ทำบุญตักบาตร(ข้าวล้นบาตร) ประชาชนก็นำข้าวเปลือกข้าวสารใหม่ ข้าวหลาม ข้าวจี่ ข้าวต้ม ขนมจ๊อก อาหาร น้ำตาล น้ำอ้อยไปใส่บาตรและยังมีพิธีบูชากองหลัวถวายเป็นพุทธบูชาอีก คือ พระภิกษุสามเณรและประชาชนชาวพุทธ ไปตัดเอาไม้จี่ ยาวบ้าง สั้นบ้างมาก่อเป็นกองหลัวทำเป็นเจดีย์แล้วจุดบูชาตอนเช้า เป็นการบูชาพระรัตนตรัย โดยความหมายเพื่อเผากิเลส ตัณหาให้หมดไป สมัยนี้มีให้เห็นน้อยเต็มทีเพราะไม้จี๋หายาก ถูกตัดฟันไปหมด ป่าไม้วอดวายไปหมดจนหาดูได้ยากแล้วเพราะมนุษย์คนเรานั้นหละ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://chomtong.com/html/tankaomai.html


.
.
.
.
.
.
คืนนี้พระจันทร์เต็มดวงสวยมากๆ (>///<)

แต่ไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ดูค่ะ เพราะกล้องมือถือถ่ายออกมาไม่สวย

แค่มองดูก็รู้สึกใจสงบค่ะ (>___<)

No comments:

Post a Comment